วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

ประเภทของสื่อโฆษณา

สื่อโฆษณาคือเครื่องมือทางการตลาดชิ้นหนึ่ง ที่มีหน้าที่นำพาข่าวสาร
ที่ผู้โฆษณาต้องการให้ผู้บริโภค ได้รับรู้และเกิดความต้องการในสินค้า
การที่ผู้โฆษณาจะประสบความสำเร็จทางด้านการสื่อสารผู้โฆษณาควร
ที่จะรู้จักลักษณะของสื่อโฆษณาแต่ละชนิดเพื่อให้เกิดการสื่อสาร
ที่มีประสิทธิภาพสื่อโฆษณาที่นิยมใช้โดยทั่วไป ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ อ่านเพิ่มเติม


ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ก่อนเลือกซื้อและก่อนบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ จึงควรศึกษาฉลากให้เข้าใจก่อนทุกครั้ง
การอ่านฉลากจะช่วยให้ทราบรายละเอียดของผลิตภัณฑ์  ทำให้สามารถเปรียบเทียบคุณภาพกับราคาซึ่งช่วยให้ประหยัดเงิน  สามารถเก็บรักษา/บริโภค  ผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง  สามารถหลีกเลี่ยงสารบางชนิดที่ทำให้เกิดการแพ้หรือเกิดปัญหาในการบริโภค  เลือกผลิตภัณฑ์  ที่มีคุณสมบัติให้ตรงตามความต้องการได้  นอกจากนั้นในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อบกพร่องจากตัวผลิตภัณฑ์  ก็สามารถร้องเรียนให้มีการดำเนินการต่อผู้ผลิต / ผู้แทนจำหน่ายได้ตาม  ชื่อและที่อยู่  ที่ปรากฏในฉลากด้วย อ่านเพิ่มเติมhttp://www.consumerprotection.or.th/index.php?mo=3&art=583316


การปฏิบัติตนตามสิทธิผู้บริโภค

1.ผู้บริโภคต้องตรวจดูฉลากของสินค้า เพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบสินค้าแต่ละยี่ห้อ ก่อนตัดสินใจเลือกสินค้า
ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากจะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้
                - ชื่อประเภท หรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจ ได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร ในกรณีที่เป็นสินค้าสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อ
ประเทศที่ผลิตด้วย..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/339734

สิทธิผู้บริโภค

 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบัญญัติถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 ว่า"สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"
  
                พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้ บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้ อ่านเพ่มเติมhttp://www.ocpb.go.th/ewt_news.php?nid=35
 

ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรมไทย

ค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรมไทย ในอดีตมีความแตกต่างจากในปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากในอดีตบุตรหลานจะถูกปลูกฝังโดยการอบรมเลี้ยงดูให้เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดาอย่างเคร่งครัด วิถีชีวิตตลอดจนวิธีการดำเนินชีวิตจะต้องอยู่ในขอบเขตที่ทางครอบครัวได้วางเอาไว้ รวมทั้งปัจจัยทางสังคมและสภาพแวดล้อมก็ยังไม่เอื้ออำนวยอย่างเช่นปัจจุบัน ค่านิยมทางเพศในอดีตมีลักษณะดังนี้ อ่านเพิ่่มเติมhttp://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/sexual_value/01.html

ค่านิยมในเรื่องเพศ

ค่านิยมของวัยรุ่นหลายประการสามารถชักนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เช่น พฤติกรรมนิยมมีแฟนในวัยเรียน พฤติกรรมที่วัยรุ่นเรียกว่า “กิ๊ก” ซึ่งวัยรุ่นยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมเหล่านี้ไม่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะมองดูทันสมัย แต่ถ้านำมาปฏิบัติจะนำพาชีวิตไปสู่ทางเสื่อมได้ง่าย ถ้าไม่รู้จักการปฏิบัติและวางตัวให้เหมาะสมกับวัย ซึ่งวัยรุ่นยังขาดประสบการณ์ที่เพียงพอในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศที่ต้องเรียนรู้อีกมาก อ่านเพิ่มเติมhttps://sites.google.com/site/kruwiruttwk/kha-niym-thang-phes-thi-hemaa-sm-khxng-way-run

การวางแผนพัฒนาสุขภาพตนเอง

   การวางแผนพัฒนาสุขภาพในภาพรวมทั้ง 3 แนวคิดจะเป็นไปในลักษณะที่ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เพราะถ้าสุขภาพส่วนบุคคลไม่ดีแล้วจะส่งผมกระทบต่อสุขภาพของบุคคลในครอบครัว และเนื่องจากครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ถ้าในครอบครัวหลายๆครอบครัวไม่เข้มแข็ง อ่อนแอด้านสุขภาพ ก็จะทำให้ภาพรวมของสังคมอ่อนแอไปด้วย ดังนั้นการพัฒนาด้านสุขภาพจึงรวมกันเป็นห่วงโซ่ที่ต้องพัฒนาเป็นองค์รวมเชื่อมโยงกันไป อ่านเพิ่มเติมhttps://sites.google.com/site/healthgrade6/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-1/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-5

ความหมายของสุขภาพ

ในอดีตคำว่า สุขภาพ หมายถึง สุขภาพกายเป็นหลัก ต่อมาจึงได้กล่าวถึงสุขภาพจิตร่วมไปด้วย เพราะเห็นว่าคนที่มีสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่สุขภาพจิตเสื่อมโทรมหรือเป็นโรคจิตก็ไม่สามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติสุขได้ ซ้ำร้ายอาจจะทำร้ายผู้อื่นได้อีกด้วย 
        ปัจจุบัน คำว่า สุขภาพ มิได้หมายเฉพาะสุขภาพกายและสุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงสุขภาพสังคม และสุขภาพศีลธรรมอีกด้วย อ่านเพิ่มเติมhttp://pirun.ku.ac.th/~b5310303201/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html

ระบบกล้ามเนื้อ

ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striatedmuscle) กล้ามเนื้อเรียบ (smoothmuscle) กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) โดยที่กล้ามเนื้อลายนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจหรือรีเฟล็กซ์ ส่วนกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ  อ่านเพิ่มเติมhttp://mwits22r9.blogspot.com/

ระบบผิวหนัง

มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุดของร่างกายปกคลุมห่อหุ้มร่างกายทั้งหมดของเราไว้ผิวหนังของผู้ใหญ่คน หนึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางนิ้ว มีความหน
ประมาณ 1 – 4 มิลลิเมตรโดยความหนาของผิวหนังจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และบริเวณที่ถูกเสียดสีโดยผิวหนังส่วนที่หนาที่สุด อ่านเพิ่มเติมhttp://bodysystemm.wikispaces.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2